น้ำ | กรัม | 5.20 |
พลังงาน | กิโลแคลอรี่ | 553 |
โปรตีน | กรัม | 18.22 |
ไขมัน | กรัม | 43.85 |
คาร์โบไฮเดรต | กรัม | 30.19 |
เส้นใย | กรัม | 3.3 |
น้ำตาลทั้งหมด | กรัม | 5.91 |
Minerals | ||
แคลเซียม | มิลลิกรัม | 37 |
เหล็ก | มิลลิกรัม | 6.68 |
แมกนีเซียม | มิลลิกรัม | 292 |
ฟอสฟอรัส | มิลลิกรัม | 592 |
โพแทสเซียม | มิลลิกรัม | 660 |
โซเดียม | มิลลิกรัม | 12 |
สังกะสี | มิลลิกรัม | 5.783 |
Vitamins | ||
วิตามิน C | มิลลิกรัม | 0.5 |
ไทอะมีน | มิลลิกรัม | 0.423 |
ไรโบฟลาวิน | มิลลิกรัม | 0.058 |
ไนอะซีน | มิลลิกรัม | 1.062 |
วิตามิน B-6 | มิลลิกรัม | 0.417 |
โฟเลต | ไมโครกรัม | 25 |
วิตามิน B-12 | ไมโครกรัม | 0.00 |
วิตามิน A, RAE | ไมโครกรัม | 0.00 |
วิตามิน A, IU | IU | 0.00 |
วิตามิน E | มิลลิกรัม | 0.90 |
วิตามิน D (D2 + D3) | ไมโครกรัม | 0.0 |
วิตามิน K | ไมโครกรัม | 34.1 |
Lipids | ||
กรดไขมันอิ่มตัวทั้งหมด | กรัม | 7.783 |
กรดไขมันอิ่มตัว ชนิดสายเดี่ยวทั้งหมด | กรัม | 23.797 |
กรดไขมันอิ่มตัว ชนิดหลายสายทั้งหมด | กรัม | 7.845 |
คอลเลสเตอรอล | มิลลิกรัม | 0 |
Caffeine | มิลลิกรัม | 0 |
ที่มา : USDA Nutrient Database
เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เมล็ดพืชแหล่งโปรตีนและไขมันดีต่อสุขภาพที่หลายคนเชื่อว่าอาจช่วยลดความเสี่ยงจากโรคเรื้อรังบางชนิดได้ เช่น โรคอ้วนลงพุง โรคหัวใจและหลอดเลือด เป็นต้น โดยส่วนที่นำมาบริโภคเป็นส่วนปลายของผลและเนื้อที่รับประทานจะอยู่ในสุดของเมล็ด คนทั่วไปนิยมรับประทานเป็นของกินเล่นหรือใช้เป็นส่วนประกอบในเมนูอาหารและขนมหวานต่าง ๆ
เม็ดมะม่วงหิมพานต์อุดมไปด้วยสารอาหารที่ดีต่อร่างกาย เช่น วิตามินเค วิตามินอี วิตามินบี 6 ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม ตลอดจนสารต้านอนุมูลอิสระประสิทธิภาพสูง จึงเชื่อว่าเมล็ดพืชชนิดนี้อาจมีสรรพคุณรักษาโรคได้ โดยส่วนอื่น ๆ ของต้น ใบยอดอ่อน ผลเนื้อแดงหรือผลเนื้อเขียวของมะม่วงหิมพานต์ ก็นำไปใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ได้ด้วยเช่นกัน
อย่างไรก็ตาม มีหลักฐานทางการแพทย์บางส่วนที่พิสูจน์สรรพคุณของเม็ดมะม่วงหิมพานต์ในแง่ของประโยชน์ต่อสุขภาพด้านต่าง ๆ ดังนี้
อ้วนลงพุงหรือภาวะเมแทบอลิกซินโดรมเป็นกลุ่มอาการผิดปกติที่มีภาวะหลายอย่างเกิดร่วมกัน ได้แก่ ไขมันในช่องท้องสูงกว่าปกติ ไขมันในเลือดผิดปกติ การเผาผลาญน้ำตาลผิดปกติ และความดันโลหิตสูง เม็ดมะม่วงหิมพานต์ประกอบไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวที่เชื่อว่าช่วยเสริมการทำงานของหลอดเลือด ลดไขมันในเลือด และส่งผลดีต่อการควบคุมระดับน้ำตาล จึงเกิดงานวิจัยที่ศึกษาประสิทธิผลด้านการลดไขมันจากการรับประทานเม็ดมะม่วงหิมพานต์ในกลุ่มอาสาสมัครชายหญิงที่มีระดับไขมันชนิดไม่ดีค่อนข้างสูงเป็นเวลา 28 วัน พบว่าเม็ดมะม่วงหิมพานต์ช่วยลดระดับไขมันรวมและไขมันชนิดไม่ดี แต่ไม่ส่งผลต่อระดับไขมันชนิดดีและไตรกลีเซอไรด์เมื่อเปรียบเทียบกับการรับประทานมันฝรั่งทอด อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยก่อนหน้านี้ที่พบว่าการบริโภคเม็ดมะม่วงหิมพานต์ไม่ใส่เกลือเป็นเวลา 8 สัปดาห์กลับส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มสูงขึ้น แต่ไม่พบการเปลี่ยนแปลงของตัวบ่งชี้อื่น ๆ ที่ใช้ในการประเมินโรคอ้วนลงพุงเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้รับประทานเม็ดมะม่วงหิมพานต์หรือเมล็ดพืชชนิดใด ๆ
แม้ข้อมูลข้างต้นแสดงให้เห็นว่าเม็ดมะม่วงหิมพานต์อาจช่วยลดปัจจัยเสี่ยงบางด้านที่นำไปสู่การเกิดโรคอ้วนลงพุงได้ แต่งานค้นคว้ามักเป็นการทดลองขนาดเล็กและงานวิจัยบางส่วนก็มีผลลัพธ์ที่โต้แย้งกัน จึงควรมีการศึกษาเพิ่มเติมต่อไป วิธีดูแลตนเองให้ห่างไกลจากกลุ่มอาการอ้วนลงพุงควรออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ควบคุมน้ำหนัก และควบคุมการรับประทานอาหารไปด้วย
เกี่ยวกับการสมานแผล
หลังเกิดบาดแผล มักมีอาการอักเสบ บวม แดงที่อาจลุกลามจนทำให้แผลหายช้าและสร้างความเจ็บปวดได้ เม็ดมะม่วงหิมพานต์มีสารต้านอนุมูลอิสระที่อาจช่วยบรรเทาอาการอักเสบหรือช่วยให้แผลสมานตัวและหายเร็วขึ้น
มีงานวิจัยหนึ่งค้นคว้าในห้องทดลองแล้วพบว่า สารสกัดจากเปลือกเม็ดมะม่วงหิมพานต์ที่คนมักนำมารักษาโรคผิวหนัง รอยแตกบริเวณเท้า และแผลจากมะเร็งนั้น มีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของแบคทีเรียบางชนิด เพราะมีสารประเภทฟีนอล (Phenol) ที่มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและอาจส่งผลดีต่อการฟื้นฟูบาดแผลให้หายเร็วขึ้น เช่น กรดอนาคาร์ดิก (Anacardic Acid) คาร์ดอล (Cardol) เมทิลคาร์ดอล (Methylcardol) เป็นต้น
แม้งานวิจัยเหล่านี้อาจเป็นแนวทางในการผลิตยาสมานแผลจากเม็ดมะม่วงหิมพานต์ในอนาคตได้ แต่ต้องมีการค้นคว้าเพิ่มเติมถึงประสิทธิภาพและความปลอดภัยอีกมาก โดยเฉพาะการทดลองนำมาใช้กับคน ผู้ที่มีบาดแผลจึงควรรับการรักษาอย่างเหมาะสมภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกร จนกว่าจะมีข้อมูลการประยุกต์ใช้ประโยชน์จากเม็ดมะม่วงหิมพานต์เพื่อการสมานแผลในลักษณะใด ๆ อย่างชัดเจนต่อไป
การบริโภคเม็ดมะม่วงหิมพานต์อย่างปลอดภัย
โดยทั่วไป การรับประทานเม็ดมะม่วงหิมพานต์เป็นอาหารหรือของว่างค่อนข้างปลอดภัยต่อร่างกาย แต่ยังไม่มีการแนะนำให้บริโภคหรือใช้เม็ดมะม่วงหิมพานต์เพื่อการรักษาโรคใด ๆ เป็นหลัก เนื่องจากไม่มีหลักฐานทางการแพทย์เพียงพอที่จะยืนยันถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพของเมล็ดพืชชนิดนี้
แม้ว่าเม็ดมะม่วงหิมพานต์มีสารอาหารหลายชนิด แต่ก็มีไขมันมากและให้พลังงานสูงด้วยเช่นกัน การบริโภคเม็ดมะม่วงหิมพานต์จึงควรคำนึงถึงสุขภาพเป็นสำคัญ ควรรับประทานในปริมาณที่เหมาะสม และระมัดระวังในการบริโภคสารปรุงแต่งที่ถูกเพิ่มลงไปในผลิตภัณฑ์แต่ละชนิด เช่น เกลือ เนย หรือน้ำตาล นอกจากนั้น การสัมผัสกับเม็ดมะม่วงหิมพานต์ที่ไม่ผ่านความร้อนหรือการปรุงสุกมาก่อนอาจก่อให้เกิดอาการระคายเคืองต่อผิวหนังได้ ดังนั้น ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญก่อนรับประทานอาหาร อาหารเสริม หรือสารใด ๆ จากเม็ดมะม่วงหิมพานต์เสมอ เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค
ส่วนผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ ควรเพิ่มความระมัดระวังเป็นพิเศษในการบริโภคเม็ดมะม่วงหิมพานต์ โดยเฉพาะบุคคลในกลุ่มต่อไปนี้
ที่มา https://www.pobpad.com/เม็ดมะม่วงหิมพานต์-ของว