ลักษณะของมะม่วงหิมพานต์

ลักษณะของมะม่วงหิมพานต์

เม็ดมะม่วงหิมพานต์คั่ว
มะม่วงหิมพานต์คั่ว หรือ วิธีการเผาโบราณ
มิถุนายน 7, 2018
ผลมะม่วงหิมพานต์

ลักษณะของผลมะม่วงหิมพานต์

ต้นมะม่วงหิมพานต์ เป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง เมื่อโตเต็มที่จะมีความสูงโดยเฉลี่ย 6 เมตร (สามารถสูงได้ถึง 12 เมตร) ลำต้นเนื้อไม้แข็ง มีกิ่งแขนงแตกออกเป็นพุ่มแน่นทรงกลมถึงกระจาย เปลือกหนาผิวเรียบมีสีน้ำตาลเทา ในบ้านเราสามารถพบมะม่วงหิมพานต์ได้ทั่วไปในภาคใต้
เก็บผลมะม่วงหิมพานต์
ใบมะม่วงหิมพานต์ ใบเป็นใบเดี่ยวเรียงเวียน ใบหนาเกลี้ยงเหมือนแผ่นหนัง ใบคล้ายรูปไข่กลับหัวถึงรูปรีกว้าง ปลายใบกลม โคนใบแหลม เนื้อใบมีกลิ่นหอม ใบมีขนาดกว้างประมาณ 6-10 เซนติเมตร และยาวประมาณ 8-20 เซนติเมตร
ใบมะม่วงหิมพานต์
ดอกมะม่วงหิมพานต์ ดอกออกเป็นช่อกระจาย ดอกมีสีขาวหรือสีเหลืองนวล และจะเปลี่ยนไปเป็นสีชมพู ช่อดอกแต่ละช่อประกอบด้วยดอกย่อยจำนวนมาก และมีกลีบเลี้ยงสีเขียวขนาดเล็ก โคนดอกเชื่อมติดกัน ดอกหนึ่งมีปลายแยกเป็นกลีบ 5 กลีบ ปลายแหลมเรียว ตรงกลางดอกมีเกสรตัวผู้ประมาณ 8-10 อัน หลังจากดอกร่วงจะติดผล
ดอกมะม่วงหิมพานต์
ผลมะม่วงหิมพานต์ มีลักษณะคล้ายผลชมพู่หรือลูกแพร์ ผลเป็นพวงห้อยลงมา ขนาดผลยาวประมาณ 5-8 เซนติเมตร เนื้อผลฉ่ำน้ำมีกลิ่นหอม ผลอ่อนมีสีเขียวหรือเหลืองอมชมพู แต่เมื่อผลสุกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองหรือสีส้มแดง ที่ปลายผลมีเมล็ดอยู่ 1 เมล็ด มีลักษณะคล้ายรูปไต เปลือกนอกแข็งและยาวประมาณ 2-4 เซนติเมตร มีน้ำตาลอมเทา
ลูกมะม่วงหิมพานต์
เม็ดมะม่วงหิมพานต์ เป็นผลมีเปลือกแข็ง มีเมล็ดเดียวลักษณะคล้ายรูปไต หรือคล้ายนวมของนักมวย มีสีน้ำตาลปนเทา ข้างในผลมีเมล็ดคล้ายรูปไต
ผลมะม่วงหิมพานต์

มะม่วงหิมพานต์ ภาษาอังกฤษ

มะม่วงหิมพานต์ เป็นไม้ยืนต้นอยู่ในวงศ์ “ANACARDIACEAE” มีชื่อวิทยาศาสตร์คือ “Anacardirm occidentale Linn.” ชื่อพื้นเมืองมีหลายชื่อแตกต่างกันไปตามท้องถิ่น เช่น “ยกร่อง (ใต้) กะแตแก (มาลายู,นราธิวาส) กายี (ตรัง) ตำหยาว ท้ายล่อ กาหยี ม่วงล่อ หัวครก กะแตแหล กาจู กาหยู ส้มม่วงชูหน่าย (ใต้) นายอ (มาลายู-ยะลา) มะม่วงกาสอ (อุตรดิตถ์) มะม่วงกุลา มะม่วงสังกา มะม่วงสิงหน มะม่วงหยอด (ภาคเหนือ) มะม่วงทูนหน่วย ส่วนที่นำมาใช้ประโยชน์มากที่สุดคือเมล็ด ซึ่งเป็นนัท ในกลุ่ม Tree nuts

ลักษณะทางพฤกษศาตร์ มะม่วงหิมพานต์เป็นต้นไม้ตระกูลเดียวกับมะม่วง เมื่อจำแนกตามสีของผลมี 2 พันธุ์คือ ผลสุกสีเหลืองจัด และผลสุกสีแดงคล้ำ

การเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว

การเก็บเกี่ยวที่ถูกต้องควรปล่อยให้ผลแก่เต็มที่แล้วร่วงหล่นจึงเก็บเกี่ยวเอาที่พื้น ไม่ควรเก็บบนต้น เพราะจะได้เมล็ดอ่อนไม่แก่เต็มที่ เมื่อเก็บมาแล้วให้บิดเมล็ดออกจากผลทันที เพื่อป้องกันเชื้อรา (mold) เข้าทำลายเมล็ด นำเมล็ดไปตากแดด (sun drying) ประมาณ 2-3 วัน ให้เมล็ดแห้งสนิท (ความชื้นไม่เกิน 12%) เพื่อเก็บรักษาไว้ได้นาน โดยไม่เน่าเสีย นิยมเก็บใส่กระสอบรอการจำหน่ายต่อไป กระบวนการผลิตเพื่อให้ได้ส่วนของเมล็ดมะม่วงหิมพานต์ที่ใช้รับประทานได้ (kernel) เป็นกระบวนการหลายขั้นตอน ที่จะต้องระมัดระวังในการนำเปลือกด้านนอกและส่วนที่อยู่ด้านในออก เพราะเป็นอันตรายต่อผิวหนังและนัยน์ตา สิ่งสำคัญที่ต้องระมัดระวังในโรงงานผลิตมะม่วงหิมพานต์ คือ ในเรื่องของความสะอาดและการควบคุมแมลงและสัตว์ที่มาทำลาย เมล็ดมะม่วงหิมพานต์ที่ได้ควรเก็บรักษาไว้ภายใต้บรรยากาศของไนโตรเจนหรือก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่อุณหภูมิ 8 องศาเซลเซียส หรือต่ำกว่า ในภาชนะที่ทำด้วยอะลูมิเนียมหรือแผ่นดีบุกหรือแผ่นเหล็ก มีอายุการเก็บรักษาได้เป็นปี มะม่วงหิมพานต์มีเอกลักาณ์เฉพาะตัวในเรื่องของกลิ่นและรสชาติ มีราคาสูง และเป็นที่สนใจของผู้บริโภค มีส่วนประกอบแตกต่างไปจากนัทชนิดอื่น คือ มีน้ำตาลร้อยละ 22 เมื่อเปิดภาชนะแล้ว ควรรีบนำไปรับประทานหรือใช้ประโยชน์โดยเร็วเพราะเกิดการหืนได้ง่าย